เคยสังเกตไหมว่า เวลาเรียกผู้สูงอายุที่บ้าน ท่านมักจะไม่ค่อยได้ยินสักเท่าไหร่ ซึ่งเรามักจะเรียกอาหารเหล่านั้นว่าหูตึง อีกหนึ่งปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ เนื่องจากหูชั้นในเกิดการเสื่อมตามวัย ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของการได้ยิน โดยในคนที่มีความผิดปกติของการได้ยิน ลักษณะเสียงพูดจะผิดเพี้ยนไปในระดับที่มากน้อยขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ ดังนั้นในวันนี้เราจะชวนทุกคนมาทำความรู้จักกับอาการหูตึง ที่มาพร้อมกับอายุที่มากขึ้น จะได้นำไปดูแลผู้สูงอายุที่บ้านกันเลย

หูตึง 

ภาวะหูตึงในผู้สูงอายุนั้นมักเกิดจากการเสื่อมและตายของเซลล์ขนรับเสียง (Hair cells) ในหูชั้นใน รวมถึงประสาทบริเวณหูชั้นในค่อยๆ สึกกร่อนหรือฉีกขาดไป ส่งผลให้เมื่ออายุมากขึ้นจะไม่ได้ยินช่วงเสียงแหลมความถี่สูง จากนั้นความเสื่อมจะค่อยๆ ลามไปถึงช่วงความถี่กลางซึ่งเป็นระดับของเสียงพูด จึงทำให้ผู้สูงอายุเริ่มฟังไม่ชัดเจน โดยเริ่มแสดงอาการเมื่ออายุประมาณ 60 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ยังมีปัจจัยที่ส่งผลต่อความรุนแรงของความบกพร่องของการได้ยิน เช่น การรับประทานยาบางชนิดอาจเป็นปัจจัยให้ประสาทหูเสื่อมเร็วขึ้นได้

การป้องกันอาการหูตึง

  1. สภาวะแวดล้อมที่มีเสียงดังนั้นส่งผลเสียต่อหูของเราเป็นอย่างมาก ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดังรบกวน ซึ่งหากเสียงที่ได้ยินมีความดังเกิน 85 เดซิเบล อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อหู โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากได้ยินเสียงนั้นเป็นเวลานาน เช่น เสียงการจราจรบนท้องถนน เสียงมอเตอร์ไซค์ เสียงเพลงระดับที่ดังที่สุดจากหูฟัง หรือเสียงเครื่องบินกำลังบินขึ้น เป็นต้น หากคุณจำเป็นจะต้องอยู่ในสภาวะแวดล้อมเสียงดังมากๆ ควรหาอุปกรณ์ป้องกันอย่างที่ครอบหูก็สามารถช่วยได้
  2. หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจส่งผลเสียต่อการได้ยิน เช่น การฟังเพลง ฟังวิทยุ หรือดูโทรทัศน์ในระดับเสียงที่ดังจนเกินไป เป็นต้น โดยเฉพาะการใช้หูฟัง ควรมีการใช้ในระยะเวลาและระดับความดังที่เหมาะสม ไม่ควรเปิดดังและใช้เวลานานมากจนเกินไป
  3. ไม่ควรยัดสิ่งต่างๆ เข้าไปในหนู ไม่ว่าจะเป็น นิ้วมือ ที่ปั่นหู สำลี และอื่นๆ เพราะอาจจะทำให้หูของเรานั้นระคายเคืองได้
  4. หากเกิดการติดเชื้อในหู ควรไปพบแพทย์ เพราะภาวะหูติดเชื้อที่ไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้หูได้รับความเสียหายอย่างถาวรได้

หากคุณมีความกังวลเกี่ยวกับประสิทธิภาพการได้ยิน ให้ Intimex ช่วยทดสอบได้ เพราะที่นี่จะตรวจการได้ยินด้วยเครื่องมือที่แม่นยำและทันสมัยทดสอบการได้ยินภายในห้องตรวจที่มีการติดตั้งแผงอคูสติก (Acoustic) ดูดซับเสียง ลดเสียงก้องเสียงสะท้อน เพื่อการตรวจการได้ยินและการทดลองเครื่องช่วยฟังได้อย่างสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้นนั่นเอง